กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) เผยข้อมูลสถิติการฉีดวัคซีนโควิด-19 ทั่วโลกแล้ว 4,320 ล้านโดส ใน 201 ประเทศ/เขตปกครอง โดยขณะนี้อัตราการฉีดล่าสุดรวมกันทั่วโลกที่ 42.5 ล้านโดสต่อวัน และมีแนวโน้มที่เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง ในขณะที่สหรัฐอเมริกามีจำนวนการฉีดวัคซีนสูงที่สุดที่ 349 ล้านโดส โดยมีชาวอเมริกันกว่า 166 ล้านคนได้รับวัคซีนครบ 2 โดสแล้ว
ด้านอาเซียนขณะนี้ทุกประเทศได้ฉีดวัคซีนป้องกันโรคโควิด-19 แล้ว มียอดรวมกันที่ประมาณ 173.91 ล้านโดส โดยสิงคโปร์ฉีดวัคซีนในสัดส่วนประชากรมากที่สุดในภูมิภาค (73.7% ของประชากร) ในขณะที่อินโดนีเซียฉีดวัคซีนในจำนวนมากที่สุดที่ 72.62 ล้านโดส สำหรับประเทศไทยข้อมูล ณ วันที่ 6 ส.ค.64 ได้ฉีดวัคซีนแล้วกว่า 19,632,537 โดส โดยฉีดให้กับประชาชนในพื้นที่เสี่ยงมากที่สุดในสัดส่วนกว่า 53.41%
จำนวนการฉีดวัคซีนสะสม 19,632,537 คน ใน 77 จังหวัด แบ่งเป็น
-เข็มแรก 15,180,276 โดส (22.9% ของประชากร)
-เข็มสอง 4,277,071 โดส (6.5% ของประชากร)
-เข็มสาม 175,190 โดส (0.3% ของประชากร)
อัตราการฉีดวัคซีน 6 ส.ค. 64 จำนวน 670,834 โดส จำนวนวัคซีนตั้งแต่ 28 ก.พ.- 6 ส.ค. 64 พบว่า ประเทศไทยฉีดวัคซีนแล้ว 19,632,537 โดส ประกอบด้วย
วัคซีน Sinovac
– เข็มที่ 1 6,101,379 โดส
– เข็มที่ 2 3,430,058 โดส
– เข็มที่ 3 0 โดส
วัคซีน AstraZeneca
– เข็มที่ 1 8,053,318 โดส
– เข็มที่ 2 554,606 โดส
– เข็มที่ 3 173,768 โดส
วัคซีน Sinopharm
– เข็มที่ 1 1,025,534 โดส
– เข็มที่ 2 292,401 โดส
– เข็มที่ 3 0 โดส
วัคซีน Pfizer
– เข็มที่ 1 45 โดส
– เข็มที่ 2 6 โดส
– เข็มที่ 3 1,422 โดส
การฉีดวัคซีนโควิด-19 แยกตามกลุ่มเป้าหมาย
– บุคลากรการแพทย์/สาธารณสุข เข็มที่ 1 115.2% เข็มที่ 2 99.7% เข็มที่ 3 24.6%
– เจ้าหน้าที่ด่านหน้า เข็มที่ 1 48.1% เข็มที่ 2 28.7% เข็มที่ 3 0%
– อสม เข็มที่ 1 50.6% เข็มที่ 2 22.7% เข็มที่ 3 0%
– ผู้ที่มีโรคเรื้อรัง 7 กลุ่มโรค เข็มที่ 1 31% เข็มที่ 2 5.3% เข็มที่ 3 0%
– ประชาชนทั่วไป เข็มที่ 1 27.4% เข็มที่ 2 7.8% เข็มที่ 3 0%
– ผู้ที่มีอายุตั้งแต่ 60 ปีขึ้นไป เข็มที่ 1 29.1% เข็มที่ 2 1.9% เข็มที่ 3 0%
– หญิงตั้งครรภ์ เข็มที่ 1 0.9% เข็มที่ 2 0% เข็มที่ 3 0%
รวม เข็มที่ 1 30.4% เข็มที่ 2 8.6% เข็มที่ 3 0.4%
จังหวัดที่ฉีดวัคซีน เข็มที่ 1 และเข็มที่ 2 แบ่งเป็น 2 ชุดข้อมูล
กรุงเทพฯ และปริมณฑล เข็มที่ 1 49.2% เข็มที่ 2 11.5% เข็มที่2 0.3% ประกอบด้วย
– กรุงเทพฯ เข็มที่ 1 68.5% เข็มที่ 2 14.5% เข็มที่ 3 0.5%
– สมุทรสาคร เข็มที่ 1 30.1% เข็มที่ 2 13.1% เข็มที่ 3 0.3%
– นนทบุรี เข็มที่ 1 32.5% เข็มที่ 2 11% เข็มที่ 3 0.3%
– สมุทรปราการ เข็มที่ 1 32.6% เข็มที่ 2 5.9% เข็มที่ 3 0.2%
– ปทุมธานี เข็มที่ 1 26.3% เข็มที่ 2 6% เข็มที่ 3 0.2%
– นครปฐม เข็มที่ 1 16.9% เข็มที่ 2 3.7% เข็มที่ 3 0.2%
จังหวัดอื่นๆ 71 จังหวัด เข็มที่ 1 13.8% เข็มที่ 2 4.5% เข็มที่ 3 0.2%
– ภูเก็ต เข็มที่ 1 75.8% เข็มที่ 2 59.5% เข็มที่ 3 0.5%
– ระนอง เข็มที่ 1 40.4% เข็มที่ 2 12.5% เข็มที่ 3 0.3%
– สุราษฎร์ธานี เข็มที่ 1 21.5% เข็มที่ 2 8.5% เข็มที่ 3 0.2%
– พังงา เข็มที่ 1 39.4% เข็มที่ 2 11.2% เข็มที่ 3 0.4%
– กระบี่ เข็มที่ 1 21.8% เข็มที่ 2 6.2% เข็มที่ 3 0.2%
– ฉะเชิงเทรา เข็มที่ 1 31.8% เข็มที่ 2 4% เข็มที่ 3 0.2%
ในภูมิภาคอาเซียน ได้ฉีดวัคซีนแล้วครบ 10 ประเทศ รวม 173,919,651 โดส ได้แก่
1. อินโดนีเซีย 72,624,709 โดส (18%* ของประชากร) ฉีดวัคซีนของ Sinovac, AstraZeneca, Moderna และ Sinopharm
2. ฟิลิปปินส์ 23,199,187 โดส (11.3%* ของประชากร) ฉีดวัคซีนของ Sinovac, Pfizer, Sputnik V, Moderna, J&J และ AstraZeneca
3. มาเลเซีย 23,161,255 โดส (46.4%* ของประชากร) ฉีดวัคซีนของ Pfizer, AstraZeneca และ Sinovac
4. ไทย 19,632,537 โดส (22.9%* ของประชากร) ฉีดวัคซีนของ Pfizer, Sinovac, AstraZeneca และ Sinopharm
5. กัมพูชา 13.128,308 โดส (46.2%* ของประชากร) ฉีดวัคซีนของ Sinopharm, AstraZeneca, J&J และ Sinovac
6. สิงคโปร์ 8,061,116 โดส (74%* ของประชากร) ฉีดวัคซีนของ Pfizer, Moderna และ Sinovac
7. เวียดนาม 8,061,116 โดส (7.4%* ของประชากร) ฉีดวัคซีนของ AstraZeneca, Pfizer, Moderna และ Sinopharm
8. พม่า 3,500,000 โดส (N/A* ของประชากร) ฉีดวัคซีนของ AstraZeneca และ Sinopharm
9. ลาว 2,479,026 โดส (17.9%* ของประชากร) ฉีดวัคซีนของ Sinopharm, Sputnik V, Pfizer, J&J, Sinovac และ AstraZeneca
10. บรูไน 177,638 โดส (32.2%* ของประชากร) ฉีดวัคซีนของ AstraZeneca และ Sinopharm